ทุกคนรู้สึกไหมว่า ในแต่ละวันเรารู้สึกว่าเครียด ปนซึมเศร้า อ่อนเพลีย ง่วงอยากนอนในเวลากลางวัน ตอนเช้าไม่อยากตื่นนอน แต่ตอนเย็นกลับนอนไม่หลับ แต่ก็นั่นแหละทุกวันนี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่าในชีวิตประจำของเราจะต้องเจอความเครียด กดดัน จากการทำงาน บางคนถึงขั้นล้มป่วยก็มีนะ เราเรียกว่า อาการต่อมหมวกไตล้า วันนี้ insidevariety.com พามาเช็คอาการด่วน !!!
อาการของต่อมหมวกไตล้า
ต่อมหมวกไต มีหน้าที่สร้างฮอร์โมน หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนความเครียดคอร์ซิตอล ซึ่งต่อมหมวกไตต้องหลั่งสารคอร์ซิตอลเพื่อเผชิญกับความเครียด ซึ่งภาวะต่อมหมวกไตล้ามีความผิดปกติที่ร่างกายสะสมความเครียดเป็นเรื้อรังเป็นตัวกระตุ้น เนื่องจากภาวะนี้มักจะไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและทันที จะต้องมีการวัดระดับฮอร์โมน 2 ตัวชื่อ คอร์ติซอล และ ดีเอชอีเอ สามารถวัดผลได้จากเลือด Cortisol และ DHEA คือฮอร์โมนความเครียดของมนุษย์
Cortisol ซึ่งมีหน้าที่หลั่งออกมาในช่วงเช้าวันใหม่ ช่วยให้ร่างกายของเราสดชื่น หากมีความเครียดสะสม นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ฮอร์โมนนี้มีฤทธิ์ทำลายล้าง ทำให้ร่างกายเสื่อมและแก่เร็ว อ่อนเพลียในตอนกลางวัน
DHEA มีหน้าที่ต่อต้านความเครียด กระตุ้นให้ร่างกายแข็งแรง และมีอารมณ์ทางเพศ ชะลอความเสื่อมของร่างกาย อีกทั้งยังช่วยต้านฤทธิ์ของ Cortisol
สาเหตุของอาการต่อมหมวกไตล้า
- การนอนหลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ
- การสะสมหรือหมกหมุ่นความเครียดมากจนเกินไป
- มีเรื่องให้กังวลาประจำ
อาการต่อมหมวกไตล้า
- ไม่อยากตื่นตอนเช้า รู้สึกเพลีย ไม่สดชื่น
- ง่วงนอน แต่นอนหลับไม่ลง
- มีอาการเวียงเวียนศีรษะในขณะลุก-นั่ง
- อยากทานอาหารเค็ม หรือของหวาน
- เป็นภูมิแพ้กำเริบ
- ท้องอืด
- ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
- ปวดประจำเดือนผิดปกติ
- ตอนบ่ายเริ่มง่วง อยากนอนกลางวัน
- คุมอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่น้ำหนักไม่ลด
- เวลา 21.00 – 22.00 น. เป็นเวลานอน แต่ยังไม่หลับ
- ถ้าทานน้ำตาลจะทำให้รู้สึกดี
- เครียด หรือซึมเศร้า
- อารมณ์แปรปรวน
- ผิวแห้งหรือแพ้ง่าย
หากเช็คแล้วใครมีอาการเหล่านี้ 5 ข้อขึ้นไปให้รู้เลยว่ามีภาวะต่อมหมวกไตล้า ในระดับที่สูง ดังนั้นควรที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือหากเป็นไปได้ควรไปพบแพทย์ เพื่อที่จะให้หาต้นตอของอาการ และหนทางในการรักษา เพื่อที่จะหายให้จากภาวะต่อมหมวกไตล้า
วิธีการปฏิบัติตัวจากภาวะต่อมหมวกไตล้า
- ควรเข้านอนก่อนเวลา 23.00 น.
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียง
- รับประทานอาหารเช้าก่อนเวลา 10.00 น.
- ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว
- ขับถ่ายให้ตรงเวลา
- รับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ เปลี่ยนจากการทานอาหารมื้อหลัก ๆ (1-2 มื้อ)
- ลดการทานน้ำตาลหรืออาหารหวานให้น้อยลง
- ออกกำลังกายแบบหนักปานกลาง แต่อย่าให้หนักมากเพราะอาจจะส่งผลถึงต่อมหมวกไตล้ามากยิ่งขึ้น
- ลดความเครียดโดยการทำงานอดิเรกหรือกิจกรรมต่าง ๆ
- ทานอาหารเสริม หรือสมุนไพรที่มีสารสกัด สามารถบรรเทาอาการต่อมหมวกไต เช่น โสมอินเดีย ชาเขียว ถั่วเหลือง วิตามิน C วิตามิน B3 วิตามิน B5 วิตามิน B6
การรักษาตัวจากภาวะต่อมหมวกไตล้า
เมื่อรู้ตัวว่ามีอาการต่อมหมวกไตล้า หากได้เข้าพบแพทย์แล้ว ก็จะมีการอธิบายถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน หาแนวทางการรักษาและต้นตอของอาการ อาจจะมีการให้วิตามินอาหารเสริม เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับต่อมหมวกไตทำงานได้ดีขึ้น
ภาวะต่อมหมวกไตล้า ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย ซึ่งสาเหตุก็เกิดจากความเครียด การนอนหลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ การสะสมความเครียด ที่จริงแล้วการรักษานั้นไม่ยากเลย เพียงแค่หากิจกรรมเพื่อคลายเครียด นอนหลับให้เพียงพอ ก็จะพ้นจากภาวะต่อมหมวกไตล้า แต่ถ้าใครกลัวจะเป็นอย่างก็ควรที่จะไปพบหรือปรึกษาแพทย์ เพื่อหาแนวทางการรักษา และต้นตอของอาการ อาจจะให้วิตามินเสริมตามความเหมาะสม ถึงแม้ว่าอาการของต่อมหมวกไตจะไม่รุนแรง แต่อาจทำให้ฮอร์โมนอื่นในร่างกายลดประสิทธิภาพด้วย หรือเกิดภาวะแรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อารมณ์หงุดหงิด แปรปรวน ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ก็ควรที่จะพบแพทย์ หรืออีกอย่างก็ควรเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตประจำวัน ถึงแม้ว่าในช่วงแรกอาจจะยากลำบากไปหน่อย แต่เชื่อว่าพอนนานเข้าอาจจะเกิดความเคยชินก็ได้
แนะนำบทความ น่าสนใจ
เมื่อพูดถึงเรื่องเล่าสยอง แน่นอนว่ามันไม่ได้มีแค่ในประเทศของเราเท่านั้น ทั่วโลกล้วนมีเรื่องราวหลอนต่างกันออกไป และหนึ่งประเทศ ที่เรามักจะได้ยินเรื่องราวหลอน ๆ เป็นประจำ นั่นก็คือประเทศญี่ปุ่น แดนอาทิตย์อุทัย ที่ทุกอย่างดูก้าวหน้าไปหมด และเป็นหนึ่งประเทศที่ส่งออกเทคโนโลยีล้ำ ๆ ให้ทั่วโลก แต่ในส่วนของ เรื่องเล่าเฮี้ยน ๆ มันไม่ได้เปลี่ยนไปตามการพัฒนาของเมืองเลย อย่างเช่น 5 เรื่องเล่าสยอง ในโรงเรียนญี่ปุ่น ที่เราเลือกมาฝาก ก็น่าจะทำให้หลายคนขนหัวลุกได้เช่นกัน
5 เรื่องเล่าสยอง ในโรงเรียนญี่ปุ่น